
คอลลาเจน
AUFUU
CollagenX คอลลาเจนเอ็กซ์
คอลลาเจน type1 คอลลาเจน type 2 คอลลาเจนที่ใส่ VitaminB Zinc และ Cirtus Aurantium
ผู้หญิงส่วนใหญ่ อยากผิวสวย รักเส้นผม เข้าร้านาระไดร์ที่ร้านตลอด รวมไปถึงร้านทำเล็บ เข้าร้านทีไร แบงค์ 500 หายวับไปกับตา
รักเส้นผมเราต้องบำรุงด้วยสารอาหารผม ซึ่ง มันคือ Zinc และมันก็อยู่ใน คอลลาเจนนี้แล้ว
CollagenX ส่วนประกอบสำคัญ
Fish Collagen Tripeptide 600 mg
Fish Collagen Dipeptide 300 mg
Collagen Type II 200 mg
Vitamin C 60 mg
Niacinamide BP (Vitamin B 3) 15 mg
Citrus Aurantium L 15 mg
Zinc Amino Acid 10 mg
คอลลาเจน Type II มีส่วน H มากกว่า Type I ถึง 3 เท่า ซึ่งมันช่วยเรื่องผิว
VitaminC คือ หัวใจสำคัญที่ช่วยกระบวนการสร้างคอลลาเจน
ฉฉCirtus Aurantium สารสกัดเปลือกส้ม ช่วยการเผาพลาญพลังงาน
((Zinc ช่วยเรื่องผมและเล็บ ให้มีสุขภาพดี
VitaminB3 ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยเผาผลาญไขมันและช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
ช่วยในการทำงานของ หัวใจ และ ช่วยให้จำได้ ว่าใครเคยทำอะไรไว้กับเรา
Copy 9 เรื่องจริงเกี่ยวกับ คอลลาเจน (Collagen)
1. คอลลาเจนคือโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจากเซลล์ ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) ซึ่งอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เอ็น กระดูก เส้นผม ผิวหนัง
2. โมเลกุลโครงสร้างของคอลลาเจนคือ กรดอะมิโน มี 2 ชนิดคือ ไกลซีน (Glycine) และ โพรลีน (Proline) ซึ่งมีอยู่ในปลา อกไก่ และถั่วเหลือง
3. คอลลาเจนในร่างกายจะเริ่มสลายเมื่อมีอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยผู้ที่เข้าสู่วัยทอง เป็นวัยที่ร่างกาย่จะกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนออกมาได้น้อยลง เพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายลดลง ส่งผลทำให้ผิวเหี่ยว แห้งกร้าน เริ่มมีริ้วรอยที่เห็นได้เด่นชัดขึ้น
4. วิตามินซี เป็นตัวช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ซึ่งมีอยู่อาหารจำพวกผักและผลไม้ เช่น มะขามป้อม มะละกอ ส้ม มะนาว หรือวิตามินซีเสริม 500 มิลลิกรัม
5. สารไอโซฟลาโวน (Isoflavone) ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศจำพวกเอสโตรเจน (Estorgen) มีอยู่ในนมถั่วเหลือง, น้ำเต้าหู้และผลิตภัณฑ์จากเต้าหู้ มีส่วนกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
6. การศึกษาวิจัยคอลลาเจนในคน ในระยะแรกใช้พอร์ซีนคอลลาเจน (Porcine Collagen) ซึ่งสกัดจากส่วนขาของหมู (คากิ)
7. คอลลาเจนหลัก ๆ จะมี 3 ไทด์ โดยไทด์ 1 และ 3 จะเน้นเรื่องผิวพรรณ ส่วนไทด์ 2 จะเน้นเรื่องกระดูกและข้อ
8. สารแอดวานซ์ ไกลเคชัน เอ็น โปรดักส์ (Advanced Glycation End Products / AGE) ที่อยู่ในน้ำตาล เป็นตัวทำปฏิกิริยาเร่งความแก่ชราด้วยการทำลายสารโมเลกุลคอลลาเจนให้เสื่อมสลายลง ผู้ที่ชอบกินอาหารหวานจะมีปัญหาผิวเหี่ยวย่นหย่อนหยานก่อนวัย และเซลล์หลอดเลือดยืดหยุ่นได้ไม่ดี
9. คอลลาเจนขนาด 2,500 - 5,000 มิลลกรัม เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน

คอลลาเจนกับการบำรุงผิวหนัง
คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผิวหนัง ช่วยให้ผิวหนังมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น เมื่ออายุมากขึ้นคอลลาเจนจะลดลง ทำให้ผิวหนังเริ่มหย่อนคล้อยและมีริ้วรอยเพิ่มมากขึ้น
ความแตกต่างระหว่างคอลลาเจนชนิดทาผิวและชนิดรับประทาน
คอลลาเจนชนิดทาผิว
คอลลาเจนโดยส่วนมากมีโมเลกุลขนาดใหญ่ เมื่อทาผิวแล้วจะดูดซึมเข้าสู่ผิวได้ยาก หรือไม่สามารถดูดซึมได้เลย ซึ่งส่งผลให้คอลลาเจนชนิดทาผิวกลายเป็นเพียงมอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นเหมือนครีมทาผิวทั่วไป
คอลลาเจนชนิดรับประทาน
มีการศึกษาว่า คอลลาเจนที่มีโมเลกุลขนาดสั้น ๆ เช่น ไดเปปไทด์และไตรเปปไทด์ เมื่อรับประทานแล้วร่างกายสามารถดูดซึมได้ นอกจากนี้มีการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยเพศหญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนพบว่าเมื่อรับประทานคอลลาเจนครบ 4 สัปดาห์ ส่งผลให้ริ้วรอยลดลงจริง
สรุป การรับประทานคอลลาเจนอาจจะสามารถช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้นได้ แต่ยังไม่มีการวิจัยในระยะยาวทั้งยังคงต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงต่อไป ที่สำคัญต้องเลือกรับประทานคอลลาเจนให้ถูกชนิด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองที่ได้มาตรฐาน
คำแนะนำจากแพทย์
คอลลาเจนเป็นเพียงอาหารเสริม หากต้องการบำรุงผิวควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงแสงแดดและการสูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้สุขภาพกายรวมถึงผิวดีขึ้นได้
ข้อมูล ณ วันที่ 10 เมษายน 2564
ที่มา : รศ. นพ.นภดล นพคุณ
คอลลาเจน ต่างกับ โปรตีนยังไง ?
โปรตีน คือ กลุ่ม อะมิโนมากกว่า 50 ตัว
คอลลาเจน ไตรเปปไทด์ คือ อะมิโน 3 ตัว
คอลลาเจน ไดเปปไทด์ คือ อะมิโน 2 ตัว

สร้างคอลลาเจน จากวิตามินซี
คอลลาเจน (collagen) เป็นโปรตีนชนิดเส้นใยที่ประสานกันอยู่นอกเซลล์ (extracellular matrix) ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ในชั้นผิวหนังแท้ (dermis) และมีอยู่ทั่วไปในร่างกาย คอลลาเจนที่พบในร่างกายมีหลายชนิด (รูปที่ 1) ทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ กระดูก และเอ็น (Ahtikoski A, 2003)
วิตามินเป็นสารอาหารที่จัดเป็นสารอินทรีย์ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต เกี่ยวข้องในกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) ของร่างกาย โดยมีหน้าที่เป็นสารตั้งต้นที่นำไปสร้างโคเอนไซม์ (coenzyme) ซึ่งเป็นปัจจัยร่วม (cofactor) ของเอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต
รูปที่ 1 ชนิดของคอลลาเจนในโครงสร้างกล้ามเนื้อ (Ahtikoski, A. 2003)
การสังเคราะห์คอลลาเจน
การสังเคราะห์คอลลาเจนเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน เกิดขึ้นในนิวเคลียสของเซลล์ fibroblast ในผิวหนังและเซลล์ osteoblast ในกระดูกโดยมีสายพอลีเปปไทด์ที่เรียกว่า โปรโตคอลลาเจน (protocollagen) ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้จะถูกกระตุ้นทำให้กรดอะมิโนโปรลีน (proline) ถูกเติมหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group) โดยกระบวนการ hydroxylation กลายเป็น ไฮดรอกซีโปรลีน (hydroxyproline) (Franceschi R. et al., 1994, Sharma S. R. et al., 2008) และกรดอะมิโนไลซีน (lysine) จะกลายเป็นไฮดรอกซีไลซีน (hydroxylysine) ที่ทำให้การยึดเส้นใยหน่วยย่อยของคอลลาเจนให้เป็นมัดที่เสถียร โดยกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นที่ไรโบโซม (ribosome) และทำให้เกิดโปรคอลลาเจน (procollagen) ขึ้น จากนั้นโปรคอลลาเจนจึงถูกเติมหมู่น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลกาแลคโตสโดยกระบวนการ glycosylation ให้กับไฮดรอกซิไลซีน และกรดอะมิโนแอสปาราจีน (asparagine) แล้วสายโพลีเปปไทด์สามสายจะพันเป็นเกลียว (triple helix) โดยการเกิดพันธะไดซัลไฟด์ (disulfide bond) ภายในสายเดียวกันและระหว่างสาย แล้วโปรคอลลาเจนจะถูกขนส่งออกจาก endoplasmic reticulum ผ่าน Golgi แล้วเริ่มเกิดการเกาะกลุ่มกันกลายเป็น secretory vesicles ในระหว่างการขนส่ง (Myllyharju, J. Kivirikko, K.I., 2004) จากนั้นจะถูกคัดหลั่งออกมาอยู่นอกเซลล์ทางช่องขนาดเล็กที่เรียกว่า microtubules แล้วส่วนปลายสายทั้งสองข้างของโมเลกุลโปรคอลลาเจนจะถูกตัดได้ด้วยเอนไซม์เฉพาะ ทำให้โปรคอลลาเจนเปลี่ยนไปเป็นโทรโปคอลลาเจน (tropocollagen) หลังจากนั้น โทรโปคอลลาเจนหลายๆ โมเลกุลจะรวมตัวกันโดยการเกิดพันธะโควาเลนต์ (covalent bond) เชื่อมประสานระหว่างโมเลกุล โดยเอนไซม์ lysyl oxidase เรียงตัวเป็นเส้นใย (fibril) ซึ่งอยู่ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
การสังเคราะห์คอลลาเจนเกิดขึ้นตลอดเวลาที่เรายังมีชีวิตอยู่ เพื่อการซ่อมแซมและแทนที่ส่วนที่ถูกทำลาย การเสื่อมสภาพและทำให้คอลลาเจนที่ถูกทำลายให้กลับมาแข็งแรงนั้น กระบวนการโดยทั่วไปได้จากการสร้างโปรตีนที่ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างโครงร่างของเซลล์ใหม่ เช่น กระบวนการสมานแผล เป็นต้น (Ritchie JE., 2008)
การเสื่อมสลายของคอลลาเจน
การเสื่อมสลายของคอลลาเจนที่เรียกว่า โปรตีโอไลซิส (proteolysis) จะทำให้คอลลาเจนที่อยู่ในเนื่อเยื่อเกี่ยวพันแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ เกิดขึ้นโดยเอนไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรตีเนส (matrix metalloprotenase หรือ MMPs) ที่ถูกคัดหลั่งออกจากเซลล์ เอนไซม์ที่สามารถตัดย่อยคอลลาเจน (collagenases) ได้ ตัวอย่างเช่น MMP-1 (Collagenase-1) คัดหลั่งจากเซลล์ fibroblast สามารถย่อยสลายคอลลาเจนชนิกที่ 1, 2, 3, 7, 8, 10 และเจลาติน, MMP-9 คัดหลั่งจากเซลล์ leucocyte สามารถย่อยสลายคอลลาเจนชนิดที่ 4, 5, 7, 10 และ 14 ได้ และ MMP-13 (Collagenase-3) คัดหลั่งจาก myofibroblast สามารถย่อยสลายคอลลาเจนชนิดที่ 1-5, 9-11 และเจลาตินได้ (Egeblad, M., Werb, Z., 2002) ดังนั้นการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MMPs จะช่วยทำให้คอลลาเจนถูกทำลายลดลงได้
วิตามินซี
วิตามินซี มีชื่อทางเคมีที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า กรดแอสคอร์บิค (ascorbic acid) มีบทบาทต่อการสร้างคอลลาเจนในปฏิกิริยาไฮดรอกซิเลชั่น (hydroxylation) ซึ่งเป็นการเติมหมู่ไฮดรอกซีบนโมเลกุลของกรดอะมิโนโพรลีน (proline) และไลซีน (lysine) ในโปรคอลลาเจน โดยเอนไซม์โพรลิลไฮดรอกซีเลส (prolyl hydroxylase) และไลซิลไฮดรอกซีเลส (lysyl hydroxylase) จะใช้กรดแอสคอร์บิกเป็นปัจจัยร่วม ทั้งนี้ hydroxyproline มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกลียวสามสายภายในโมเลกุลของคอลลาเจนแข็งแรง และ hydroxylysine เป็นตำแหน่งที่ทำให้เกิดพันธะเชื่อมกันระหว่างโมเลกุลของคอลลาเจนที่เรียกว่า glycosylation การเกิดแผลที่มุมปากจากโรคลักปิดลักเปิด (scurvy) ที่มักนิยมเรียกว่า โรคปากนกกระจอกนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการขาด hydroxyproline ในสายคอลลาเจน นอกจากนี้การวิจัยของฟีฝเฝอร์และคณะในปี 1998 แสดงให้เห็นว่าการรับประทานวิตามินซีในประมาณที่เพียงพอจะช่วยลดการสร้างเอนไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรตีเนสได้ ทำให้คอลลาเจนถูกทำลายได้น้อยลง ดังนั้นการรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีจึงมีส่วนช่วยให้ร่างกายเราสามารถดูดซึมวิตามินดังกล่าวมาใช้ในการเสริมสร้างคอลลาเจนให้แข็งแรงได้ การศึกษาของเคาและคณะ ในปี 1998 แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่รับประทานเครื่องดื่มที่ผสมผลไม้หรือผักพร้อมอาหารมื้อเช้า ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เช่น สตรอเบอร์รี่ 240 กรัม หรือผักขม (spinach) 294 กรัม จะตรวจพบปริมาณวิตามินซีในปัสสาวะสูงกว่าผู้สูงอายุที่ดื่มน้ำมะพร้าวหรือดื่มไวน์แดงที่กำจัดแอลกอฮอล์ออกแล้วปริมาตร 300 มิลลิลิตร (ระดับวิตามินซีเฉลี่ยในปัสสาวะ เท่ากับ 217±23, 197±33, 173±24 และ 177±19 ไมโครโมลต่อชั่วโมงต่อลิตร (µmol/h·l) ตามลำดับ)
โดยทั่วไปแล้ววิตามินซีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างคอลลาเจนจะต้องอยู่ในรูป L-ascorbic acid (รูปที่ 3ก) แต่เนื่องจากวิตามินซีในรูปแบบดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เมื่ออยู่ในระบบทางเดินอาหารของเราจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) ขึ้น วิตามินซีจะกลายเป็น L-dehydroascorbic acid ดังแสดงในรูปที่ 3ข อย่างไรก็ตามสารดังกล่าวเมื่อซึมผ่านเข้าไปในเซลล์หรือในกระแสเลือดแล้วจะสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็น L-ascorbic acid ได้ง่าย
แหล่งของวิตามินซี
ในร่างกายของคนเราไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นเองได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องรับประทานผักและผลไม้ที่มีวิตามินซี ดังแสดงในตารางที่ 1 และ 2 อย่างไรก็ตามวิตามินซีเป็นวิตามินที่มีการเสื่อมสลายได้ง่าย การเก็บรักษาผักและผลไม้จึงมีผลต่อปริมาณวิตามินซีที่คงเหลือในผักและผลไม้ ดังรายงานการวิจัยของฟาเวลล์ ในปี ค.ศ.1998 โดยการแช่เย็นผักต่างๆ ไว้ในอุณหภูมิ 20°C และ 4°C พบว่า ผักที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20°C จะมีการเสื่อมสลายของวิตามินซีเร็วกว่าผักที่เก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4°C โดยวิตามินซีที่มีอยู่ในถั่วและบรอคโคลี่จะยังคงเหลือประมาณ 50% ของปริมาณที่พบในผักสด เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4°C เป็นเวลา 21 วัน ขณะทิ่วิตามินซีในถั่วเขียวและผักโขมจะมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 14 วัน ไม่ว่าจะเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4°C หรือ 20°C อย่างไรก็ตามแครอทที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิทั้งสองสภาวะ เป็นเวลา 21 วัน ยังคงมีปริมาณวิตามินซีเหลือไม่น้อยกว่า 50% ซึ่งการเสื่อมสลายของวิตามินซีสามารถอธิบายได้ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์แบบปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง (first-order reaction) (Van den Broeck, I. et al., 1998)
สรุป
วิตามินซีในรูป L-ascorbic acid ซึ่งพบได้จากธรรมชาติในผักและผลไม้ต่างๆ มีความสามารถในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ โดยวิตามินซีมีบทบาทในปฏิกิริยา hydroxylation ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างคอลลาเจน นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ matrix metalloprotenase (MMPs) ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถตัดย่อยคอลลาเจน วิตามินซีมีบทบาทในการเป็นปัจจัยร่วมระหว่างขั้นตอนการสังเคราะห์คอลลาเจน หากร่างกายขาดวิตามินซี คอลลาเจนที่สร้างขึ้นก็จะเกิดการแตกหัก ซึ่งจะนำไปสู่อาการผิดปกติของโรคต่างๆ เช่น โรคลักปิดลักเปิดได้ โดยทั่วไปการรับประทานผักและผลไม้ที่เป็นแหล่งของวิตามินซีจะมีความปลอดภัยสูง อย่างไรก็ตามการเสริมวิตามินซีในขนาดที่สูงจะต้องระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีภาวะพร่องหรือขาดเอนไซม์ glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD) เนื่องจากมีรายงานวิจัยที่ให้วิตามินซีประมาณ 80 กรัม โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ พบการตกตะกอนของวิตามินซีและยังทำให้เกิดภาวะโลหิตจางรุนแรงเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก (hemolytic anemia) ได้ (Beutler, E., 1994) อย่างไรก็ตามกลไกการทำให้เม็ดเลือดแดงแตกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดเนื่องจากวิตามินซีไม่สามารถทำให้เม็ดเลือดแดงในหลอดทดลอง แต่ในร่างกายของผู้ป่วยจะพบเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะของการบาดเจ็บเนื่องจากออกซิเจน (oxidative injury)
What ...C
Real Life
คอลลาเจน
เขียนโดย biology เมื่อ July 29, 2014. หัวข้อ บทความ, บทความปี 2555
วิลาส รัตนานุกูล
เมื่อพูดถึงคำว่า คอลลาเจน หลายๆ คนคงรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากคอลลาเจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในเรื่องเกี่ยวกับความสวยความงาม ไม่ว่าจะเป็นคอลลาเจนที่เป็นอาหารเสริมบำรุงสุขภาพ บำรุงผิวพรรณ ชนิดน้ำ ชนิดแคปซูล รวมทั้งครีมบำรุงผิวบางชนิดที่มีส่วนผสมของคอลลาเจน คอลลาเจนมีความสำคัญต่อร่างกายของเราเนื่องจากเป็นส่วนประกอบของกระดูก ฟัน กระดูกอ่อน เอ็น เอ็นยึดข้อ และเป็นโครงสร้างหลักของผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่น แข็งแรง กระชับ เต่งตึง และช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น
ภาพที่ 1 คอลลาเจนในชั้นหนังแท้
ที่มาภาพ: http://healthinfo99.blogspot.com/2010/08/skin-anatomy.html
คอลลาเจน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีมากถึง 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกาย คอลลาเจนมีลักษณะเป็นเส้นใยเมื่ออยู่ในรูปของคอลลาเจนไฟเบอร์ (collagen fibers) จะทำให้เซลล์ต่างๆ คงรูปร่างได้ คอลลาเจนเกิดจากสายพอลิเพปไทด์ 3 สายพันกันเป็นเกลียวมีโครงสร้างที่เรียกว่า triple helix โดยภายในสายพอลิเพปไทด์แต่ละสายเกิดจากการรวมกันของกรดอะมิโน (G-X-Y)n โดย G คือ ไกลซีน (glycine) X คือโพรลีน (Proline) และ Y คือไฮโดรโพรลีน (hydroxyproline ; Hyp) โดยไฮโดรโพรลีนเป็นโพรลีนที่มีการเติมหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ซึ่งอาศัยเอนไซม์และโคแฟคเตอร์คือกรดแอสคอบิก (ascorbic acid) หรือวิตามินซีเป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิกิริยาในกระบวนการสร้างคอลลาเจนไฟเบอร์
ภาพที่ 2 โครงสร้างของคอลลาเจนที่เกิดจากการรวมตัวของกรดอะมิโน
ในวัยเด็กร่างกายจะมีคอลลาเจนเป็นจำนวนมากผิวจึงมีความแข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี เต่งตึง ไม่มีริ้วรอยเหี่ยวย่น แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นคอลลาเจนจะค่อยๆ เสื่อมสลายและลดลง เนื่องจากร่างกายสร้างคอลลาเจนได้น้อยลง ทำให้โครงสร้างของผิวไม่แข็งแรง เกิดรอยเหี่ยวย่น หย่อนคล้อย ดังนั้นเพื่อลดปัญหาเหล่านี้จึงจำเป็นต้องกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับร่างกาย ซึ่งการสร้างคอลลาเจนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังชั้นหนังแท้ โดยหลอดเลือดจะลำเลียงสารอาหารจากการที่เรารับประทานนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างคอลลาเจน ดังนั้นการรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนจากภายในจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิวหนังได้ โดยเฉพาะการรับประทานผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีและแอนโทไซยานินเนื่องจากวิตามินซีและแอนโทไซยานินเป็นตัวช่วยที่สำคัญในกระบวนการสร้างคอลลาเจน
วิตามินซีเป็นตัวช่วยสำคัญต่อการเติมหมู่ไฮดรอกซิลให้กับไฮโดรโพรลีนในปฏิกิริยาการสังเคราะห์คอลลาเจน ส่วนแอนโทไซยานินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันไม่ให้คอลลาเจนถูกทำลาย ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีและแอนโทไซยานินจึงมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์คอลลาเจนของร่างกาย
อาหารที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนให้กับร่างกาย มีดังนี้
1. ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซี เช่น พริกหยวกแดง มะเขือเทศ บรอคโคลี มะเขือม่วง กะหล่ำม่วง กะหล่ำดอก ส้ม องุ่นแดง มะนาว สตรอเบอร์รี กีวี มะม่วง แคนตาลูป พลัม และมะละกอ เป็นต้น
พริกหยวกแดง
มะเขือเทศ
มะเขือม่วง
กะหล่ำม่วง
ส้ม
องุ่นแดง
มะละกอ
กีวี
2. ผลไม้ที่มีแอนโทไซยานิน เช่น บลูเบอร์รี แบล็คเบอร์รี แครนเบอร์รี ราสเบอร์รี และลูกพรุน เป็นต้น
บลูเบอร์รี
ราสเบอร์รี
พรุน
3. อาหารที่มีส่วนประกอบของคอลลาเจน เช่น กระดูกของปลาทะเลน้ำลึกและปลากระเบน หรือพบบริเวณตาปลาที่มีลักษณะเป็นเหมือนวุ้นใส กระดูกอ่อนไก่ กระดูกอ่อนหมู สาหร่ายทะเล เห็ดเข็มทอง เห็ดหูหนู หัวบุก แตงกวา แก้วมังกร แอปเปิล เป็นต้น
เห็ดเข็มทอง
เห็ดหูหนู
แตงกวา
แก้วมังกร
การเพิ่มคอลลาเจนให้กับร่างกายนอกจากการรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนแล้ว ยังสามารถทำได้โดยการรับประทานวิตามิน เอ ซี และอี หรือใช้ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนประกอบของวิตามิน เอ ซี และอี รวมถึงการปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะช่วยให้คอลลาเจนเสื่อมสลายช้าลงด้วย
คอลลาเจนนอกจากจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของผิวแล้วยังช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก กระดูกอ่อน และฟัน การรับประทานคอลลาเจนร่วมกับแคลเซียมจะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุน โดยลดการสลายแคลเซียมจากกระดูก และป้องกันโรคข้อเสื่อมโดยทำให้ไม่มีอาการปวดหรืออักเสบบริเวณข้ออีกด้วย
ในปัจจุบันคอลลาเจนนอกจากจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้วยังมีการสกัดมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมอาหารและด้านการแพทย์ เช่น การนำคอลลาเจนมาทำเป็นที่ห่อไส้กรอกแทนลำไส้ของสัตว์ การทำคอลลาเจนให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลงเพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายเรียกว่า เจลาติน ซึ่งนำมาทำเยลลีหรือขนมหวาน นำมาทำแคปซูลบรรจุยา ทำสารเคลือบเม็ดยา และใช้สำหรับการผลิตวัสดุสังเคราะห์ที่ใช้ในการศัลยกรรม เป็นต้น
เมื่อเราทราบประโยชน์ของคอลลาเจนดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ดังนั้นเราจึงควรหันมารับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างคอลลาเจนกันดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดี ดูอ่อนกว่าวัย และช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
วิตามินซี มันไม่ได้ดีไปหมด กินวิตามินซียังไงก็ได้ มันไม่ใช่นะเว้ยย เพราะ ว่าอะไรที่มันมากไปมันก็ไม่ดี น้อยไปมันก็ไม่ดี รู้ไว้ซะ ทุกอย่างต้องกินพอดี
วิตามินซี มันสำคัญกับร่างกายมากๆๆๆ มากที่สุด ถ้าเรามีวิตามินซี ร่างกายก็มีภูมิคุ้มกัน สุขภาพฟันถ้าขาดวิตามินซี เลือดก็ออกตามไรฟัน เป็นหวัดก็ต้องกินวิตามิน เกิดจากความว่าง อยากแชร์ประสบการณ์อะไรที่มันจริงแบบไม่แต่งเติม กิน เที่ยว ใช้ชีวิตอะไรแบบ Real รีล แนวภาพแนวงาน แสดงให้เห็นแบบจริงๆ ไม่ต้องแต่งเติมได้อะไรมาก็เห็นเป็นแบบนั้น
วันนี้จะเริ่มต้นด้วยความเข้าใจผิดๆ ที่ทุกคนไม่เคยรู้ กินผลไม้อะไร ได้วิตามินซีเยอะๆ นึกถึงอะไรกันครับ ส้ม...............ผิดครับ

ในผักผลไม้ จริงๆ ส้มมีวิตามินซีแค่ 44 มก ต่อ 100g จริงๆ พริกสดอะมี 144 มก เยอะกว่าตั้งเยอะ
เป็นเมนู เผ็ด น้อกจากจะทำให้เสียน้ำตา บางครั้งก็มีผลดี เพราะวิตามินซีที่ได้ ให้ผลดีกับเรามาก แต่ต้องไม่ปรุงด้วยความร้อนนะครับ เพราะ วิตามินซีจะหายไปหมด ดังนั้น พวกเมนูต้มยำเนี่ย วิตามินซีมันซ่อนในพริกสดที่โรยลงไป มากกว่า
วิตามินซีมีประโยชน์อย่างไร
-
วิตามินซีสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
-
วิตามินซีทำให้ผิวกระจ่างใส
-
วิตามินซีช่วยป้องกันสายตาเสื่อม

วิตามินซีที่ร่างกายต้องการคือเท่าไหร่......
ร่างกายคนเราต้องการวิตามินซี 1000-3000 มิลลิกรัม แต่.............อย่าพึ่งรีบกิน
เพราะ ร่างกายดูดซึมได้ทีละ 260 มิลลิกรัม (เหมือนกินข้าวทีเดียว3 มื้อไม่ได้นะจ๊ะ)
ดังนั้น ค่อยๆกินวิตามินซี แบ่งเป็นหลายๆมื้อจะดีกว่ากินไปแล้วเสียของนะ
วิตามินซี ควรกินตอนไหน
วิตามินซีไม่ใช่กินได้ทุกเวลา มันควรกินหลังอาหาร ย้ำๆว่าทานน้ำเยอะๆ
ทานวิตามินซีหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็นก็ได้ แต่ก่อนนอนอย่ากินเลย เดี๋ยวมันตกค้างตอนเรานอนจะเป็นนิ่วได้

Vitamin C - ต่างกันอย่างไร
ถ้าเราเอากระปุกวิตามินซีขึ้นมาดู เราจะพบว่า เห้ยยย ทำไมมันมีส่วนผสม แบบนี้วะ คือ Vitamin C ตัวหลัก กับ as Sodium Ascorbate
จำไว้เลยง่ายๆนะ ตัวหลักเป็นกรด โวเดียมเป็นเกลือ ช่วยให้ทำงานกันดีขึ้น
ทำให้วิตามินซีหลักที่เป็นกรดกัดกะเพราะเราน้อยลงด้วย
cr.เภสัช

โรคขาดวิตามินซี คือ
โรคขาดวิตามินซี คือ ลักปิดลักเปิด เด็กๆเรามักได้ยินชื่อโรคลักปิดลักเปิด แต่ก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แปลง่ายๆก็คือ โรคขาดวิตามินซี
วิตามินซี มีส่วนสำคัญในการทำงานของโปรตีน เมื่อ วิตามินซีไม่เพียงพอ เนื้อเยื่อก็มีการอักเสบได้ง่าย
อาการขาดวิตามินซี
เหงือกบวม
เลือดออกง่าย
เลือดออกตอนแปรงฟัน (อย่าแปรงแรงไปนัก)
ควรได้รับวิตามินซีเท่าไหร่
ตามคำแนะนำของสถาบันการแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine - IOM) คือ
-
อายุ 0-6 เดือน ควรได้รับวิตามินซีวันละ 40 มิลลิกรัม
-
อายุ 7-12 เดือน ควรได้รับวิตามินซีวันละ 50 มิลลิกรัม
-
อายุ 1-3 ปี ควรได้รับวิตามินซีวันละ 15 มิลลิกรัม
-
อายุ 4-8 ปี ควรได้รับวิตามินซีวันละ 25 มิลลิกรัม
-
อายุ 9-13 ปี ควรได้รับวิตามินซีวันละ 45 มิลลิกรัม
-
อายุ 14-18 ปี ในเพศชายควรได้รับวิตามินซีวันละ 75 มิลลิกรัม ส่วนในเพศหญิงควรได้รับวิตามินซีวันละ 65 มิลลิกรัม
-
อายุ 19 ปี ถึงมากกว่า 70 ปี ในเพศชายควรได้รับวิตามินซีวันละ 90 มิลลิกรัม ส่วนในเพศหญิงควรได้รับวิตามินซีวันละ 75 มิลลิกรัม
-
หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 14-18 ปี ควรได้รับวิตามินซีวันละ 80 มิลลิกรัม ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 19-50 ปี ควรได้รับวิตามินซีวันละ 85 มิลลิกรัม
-
หญิงให้นมบุตรที่มีอายุ 14-18 ปี ควรได้รับวิตามินซีวันละ 115 มิลลิกรัม ส่วนหญิงให้นมบุตรที่มีอายุ 19-50 ปี ควรได้รับวิตามินซีวันละ 120 มิลลิกรัม
หมายเหตุ : ความต้องการวิตามินซีจะเพิ่มมากขึ้นในภาวะต่าง ๆ ได้แก่ ภาวะไข้ (โดยเฉพาะการเป็นโรคติดเชื้อและโรคอุจจาระร่วง) การได้รับภยันตรายรุนแรง (เช่น แผลไฟไหม้รุนแรง) เด็กที่เป็นโรคสมองพิการหรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก ผู้ที่ขาดโปรตีน ผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงอายุ (ผู้สูบบุหรี่ควรได้รับวิตามินซีเพิ่มขึ้นจากปริมาณที่แนะนำดังกล่าวอีกวันละ 35 มิลลิกรัม) รวมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ที่อยู่ตามลำพังหรือไร้ที่อยู่ เหล่านี้จะเป็นปัจจัยเสริมทำให้เกิดอาการขาดวิตามินซีได้ ดังนั้นเมื่อมีความต้องการวิตามินซีเพิ่มขึ้นควรบริโภคให้เพียงพอ (ควรเน้นอาหารที่มีวิตามินซีสูงและคำนึงถึงผลของการปรุงอาหารที่อาจทำลายวิตามินซีด้วย)
วิตามินซีและคอลลาเจน
วิตามินซีทานกับคอลลาเจนแล้วดีไหม 8/2/2022
ข้อเท็จจริง -----------คอลลาเจน คือ โปรตีน
วิตามินซี ทำให้การดูดซึม ของ โปรตีนทำได้ดีขึ้น
วิตามินซี ทำให้สร้างคอลลาเจนได้ดีขึ้น จริงไหม?
ascorbic acid คือ วิตามินซี
แต่วิตามินซี มีหลายรูปแบบ ซึ่ง ไม่ใช่ วิตามินซีทุกตัวจะช่วยคุณเหมือนกัน
ให้มองหา L-ascorbic acid เพราะ ตัวนี้คือ วิตามินซีที่ออกฤทธ์โดยตรง
ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนที่จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและคืนความเฟิร์มกระชับให้ผิว
ทำไมต้องกินวิตามินซี
วิตามินซีเรากินไปทำไม เหตุผลที่เรากินข้อแรกเลยนะ คือ เราสร้างวิตามินซีเองไม่ได้ และเราก็ต้องใช้มันในการสร้างภูมิคุ้มกัน
จริงไมกินวิตามินซีแล้วป้องกันการเป็นหวัดได้ คำตอบคือ ไม่ใช่ แต่วิตามินซีทำให้หวัดหายไวขึ้น
วิตามินซีเราสร้างไม่ได้แล้วหาได้จากที่ไหน
วิตามินซีมีในพืช ผัก ผลไม้ อาหารต่างๆ แต่ มีในผลไม้มากที่สุด
วิตามินซีมีในผลไม้อะไรมากที่สุด
วิตามิน มในผลไม้สดๆจากสวนนะ ไม่ใช่เด็ดมาไว้ตลาดแล้วหลายๆวัน ถ้าในบ้านเราก็มี มะขามป้อม ฝรั่ง ที่มีวิตามินซีเยอะ
ส้ม มะนาว ผลไม้รสเปรี้ยวๆ วิตามินซีไม่ได้เยอะตามความเปรี้ยวของมัน อย่าเข้าใจผิด
ซื้อวิตามินซีกินดีไหม
จากที่อ่านมา มันก็ควรซื้อกินแหละ เพราะในผักผลไม้ก็ต้งทานสดๆ ซึ่งสมัยนี้มันหายาก ควรหาซื้อทานเพิ่ม โดยแนะนำว่าซื้อเป็นอาหารเสริมก่อนก็พอต่อร่างกายแล้ว
วิตามินซีแบบอาหารเสริมและยาต่างกันยังไง
วิตามินซีอาหารเสริม คือ มีวิตามินซี 60มก ส่วนยา จะมีมากกว่า 60มก
เราควรกินแบบไหน ไม่ใช่มองตัวเลขวิตามินซีเยอะๆแล้วก็ซื้อมากินแล้วคิดว่าคุ้มนะ เพราะ ยาไม่ใช่ของกินเล่นๆ กินมากๆปร่างกายก็ต้องขับออกไป
หน่วยงานต่างๆ เค้าก็วิจัยมาระดับนึงแล้ว ว่าคนเราต้องการวิตามินซีประมาณ 60-180 มก. ต่อวัน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เค้ากำหนดให้วิตามินซีในอาหารเสริมคือ 60 มก
ดังนั้น สำหรับผู้ที่ไม่ได้ป่วย ทานวิตามินซี 2-3 เม็ดต่อวันแบบอาหารเสริมก็เพียงพอแล้ว
ร่างกายคนเราต้องการวิตามินซีเท่าไหร่
ผู้หญิงและผู้ชายรวมถึงคนมีอายุ ต้องการวิตามินซีไม่เท่ากันนะ สรุปโดยประมาณ คือ 120 มก
สรุป ทานวิตามินซี ประมาณ 120 มิลลิกรัม ถ้าเป็นอาหารเสริมก็ประมาณ 2 เม็ด พอดีต่อการใช้งาน 1 วัน